1. พูดให้น้อยกว่าผลงาน
โลกที่มี Social Media เป็นโลกที่อึกทึกคึกโครมใคร ๆ ก็เป็นผู้พิพากษาได้
แค่เพียงคอมเม้นต์ใต้โพสต์แล้วหา “แนวร่วม” เข้ามาสนับสนุนก็พอ
ในยุคที่คนพูดน้อยเหลืออยู่ไม่มาก
นั่นทำให้คนเหล่านั้นมี “เสน่ห์” มากขึ้น ในโลกของการทำงานผลงานคือสิ่งเดียว
ที่บริษัทต้องการอย่ างแท้จริง (แต่ถ้าบางบริษัทต้องการแต่ “คำพูดดี ๆ”
บริษัทนั้นกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับ “อนาคต” แน่นอน)
เพราะผลงานเท่านั้นจะสร้างผลที่เป็นเงิ นให้แ ก่บริษัท ผลงานยิ่งใหญ่เท่าไหร่
ก็ยิ่งดีแต่ … คนที่ผลงานดีดันไปคุยใหญ่กว่าผลงานคนแบบนี้น่า
“รำคาญ” มากกว่าน่า “นับถือ”
การพูดเพื่อเป็นแรงบันดาลใจกับ “การอ วดตัว” มันต่างกันการพูดเพื่อเป็นแรงบันดาลใจ
ไม่จำเป็นต้องพูดบ่อย ๆ คนเขาก็เห็นภาพอยู่แล้ว เค้ารอฟังแค่ว่า
…แล้วฉันจะต้องทำยังไงต่อ หรือ จะช่วยอะไรฉันให้พิชิตเป้าหมายได้แบบนี้บ้ า ง?
การพูดเพื่อเปิดเผยผลงานที่จำเป็นในการแสดงตัวตนในบริษัทหรือ “ชื่อตำแหน่ง”
ก็เรื่องหนึ่งครับ เราอาจจะต้องบอกสักหน่อยว่า “เราเป็นใคร?”แต่การโอ้อ วด
“แบบออกตัวแรง”มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะดีกว่าสิ่งที่เราทำเพราะสุดท้ายหลักฐานจริง ๆ
ไม่เคยอยู่ในคำพูดแต่คุณทำอะไรลงไปบ้ า ง นั่นแหละครับหลักฐานที่แน่นหนาที่สุด
2. ช่วยเมื่อไม่ต้องช่วยก็ได้
การช่วยเหลือคนอื่น ๆ เป็นสิ่งที่ผมชอบทำอาจจะเพราะเห็นว่าเราทำได้ ไม่ได้เหนื่อยอะไร
แต่นอกเหนือจากนั้นการช่วยเหลือใครนั้นเป็นการสร้างบารมีอย่ างหนึ่งเราไม่จำเป็นต้องช่วยเหลือใคร
เพราะหวังให้เขาทำดีกลับเพราะนั้นมันเหมือนการปล่อยกู้ที่เราต้องเ ค รี ย ดเรื่องเก็บด อกทุ กเดือน
การช่วยเหลือคนเหมือนการปลูกต้นไม้
ต้องเข้าใจครับว่าไม่ใช่ทุ กต้นที่จะโตและไม่ใช่ทุ กต้นที่โตแล้ว “ออกผล” สวยงามให้กับเรา
แต่ยังไงก็ตาม “ประโยชน์” ของการปลูกนั้นก็ยังอยู่
ยกตัวอย่ างเช่น โดยปกติแล้วถ้าเราอยู่ในตำแหน่งของฝ่ายจัดซื้ อ เราอาจจะช่วยหาข้อมูลสินค้า
ของคู่แข่งให้ก็ได้ ราคาตลาดเป็นยังไง?
ซึ่งเอาจริง ๆ ก็ไม่ใช่ “หน้าที่โดยตรง” ที่จะต้องมาช่วยเหลือ หรือบางทีมีงานต้องประชุมกันถึงดึก
มีลูกน้องคนนึงบ้ า นอยู่ไกลมากเราก็ไปส่งทั้ง ๆ ที่มันอ้อมจากเส้นทางกลับบ้านช่วย
โดยที่ไม่ต้องช่วยก็ได้มันแสดงถึงการช่วยเหลือของ “เพื่อนมนุษย์” ไม่ใช่แค่ “เพื่อนร่วมงาน”
ผมเชื่อว่า การแสดงออกเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลต่อ “ความสัมพันธ์”เราไม่ควรแค่พูดว่ารักใคร
เราต้องแสดงความรักให้เขาได้เห็น โดยเฉพาะช่วงเวลาที่คนอื่นเดื อดร้อน มันก็ดู
กันตรงนี้แหละครับว่าเราเป็นแค่คนรู้จักชื่อกันหรือเป็นเพื่อนกันจริง ๆบารมีที่ดีต้องเกิดจาก
“การให้” ไม่ใช่ตำแหน่งครับเพราะผมเชื่อว่าคนเราจะยอมรับความดีมากกว่าอำนาจ
3. ไม่เป็นของ ต า ย ที่น่ารัก
ความช่วยเหลือหรือคำแนะนำนี่แปลกอยู่อย่ างหนึ่งครับถ้ามันไม่ได้ไปในเวลาที่เขา “ยอมรับ”
มันก็กลายเป็น “การแส่หาเรื่อง” คนที่ล้ มจะลุกขึ้นได้ก็ด้วยตัวของเขาเองเท่านั้นมือของเรา
ได้แค่ดึงให้เค้าลุกเร็วขึ้น
การที่เราเป็น คนมีน้ำใจ “แบบชอบยัดเยียด” มันจะทำให้การช่วยเหลือของเราไม่มีคุณค่า
มันได้มาง่ายเหลือเกินกลับกันที่เรารู้สึกเสี ยดายหรือหวงของที่ซื้ อ มาแพงก็เพราะ
“มันได้มาย า ก”
การช่วยเหลือคนเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องดูคนที่พร้อมจะให้เราช่วยก่อนคนกลุ่มนี้คือคนกลุ่มแรก
ที่เราต้องวิ่งไปดึงขึ้นมา เพราะบางคนก็แค่เรียกร้องความสนใจ แต่ไม่ได้ต้องการจะแก้ปัญหาจริง ๆ
สำหรับคนแบบนั้นเราอาจจะแค่ฟังแล้วก็พยักหน้าตามจนจบ ก็พอแล้วล่ะครับ
และนี่คือ วิ ธีง่าย ๆ เพื่อที่จะให้คนที่เราต้องไปเกี่ยวข้องปฎิบัติต่อเราดีขึ้นเกรงใจและเคารพเรา
เพราะสำหรับหลาย ๆ คนแล้ว ชีวิต การทำงานคือ ครึ่งหนึ่งของชีวิตเลยทีเดียว หวังว่าทุ กท่าน
จะมีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นนะครับ
4. โยนความดีให้ผู้อื่น
คนส่วนใหญ่ปากแข็งที่จะยอมรับผิด และยังปากหนักที่จะชมคนอื่นแต่อย่ าเป็นคนดี
ที่อยู่โดดเดี่ยวบนโลก คนส่วนใหญ่เป็นคนดีเป็นคนเก่งอยู่แล้ว
การชื่นชมในส่วนดีของผู้อื่นเป็นการเติมความหวานให้กับชีวิตคน ๆ นั้นการชื่นชมคนอื่น
(อย่ างจริงใจ) ทำให้เราเป็นคนน่ารักขึ้น เป็นบรรย า กาศที่ดีสำหรับคนอื่น
เราไม่มีวันรู้หรอกว่า คน ๆ หนึ่งเขารู้สึกยังไงกับตัวเองในตอนนี้ ณ เวลานั้นเขาอาจจะกำลังสบ
ประมาทว่า ตัวเองเป็นคน ห่ ว ย แ ต ก หรือบ่นว่าทำไมชีวิตฉันโคต รซ วย
หรือเปล่าก็ไม่รู้แต่ผมเชื่อว่า คนทุ กคนต้องการใครสักคนมาย้ำเตื อนว่าเขามี “คุณค่า”
เขาเก่งกว่าที่เขาคิด (หรือบางคนก็ลืมคิดไป) คำชมของเราอาจจะช่วยดัน “คนที่ล้ ม”
ให้ยืนขึ้นมาใหม่ก็ได้
คำชมของเราอาจจะทำให้เขารู้สึกมีตัวตนในบริษัท คำชมของเราอาจจะเป็นเรื่องราวประทับใจ
ให้เขากลับไปเล่าให้คนที่บ้ า นฟังก็ได้ อย่ าประหยัดคำชมจนคนรอบข้างของเรารู้สึกแห้งแล้ง
และโดดเดี่ยวไม่มีใครสมควรที่จะรู้สึกว่า ตัวเองไร้ค่าหรอกครับเพราะเวลาที่เขาเหลืออยู่ทั้งชีวิต
จะเป็นเวลาที่แสนโ ห ด ร้ า ย อย่ างแน่นอนถ้าเค้าได้แต่ถามตัวเองว่า “นี่ฉันหายใจต่อไปทำไม?”
ขอบคุณที่มา : sabailey