คุณแม่ชราคนหนึ่ง เดินเข้าไปหาหนังสือพิมพ์ในห้องของลูกชาย
เผอิญลูกชายกลับบ้านมาพอดี ลูกชายหัวเสี ยมาจากการเจรจาการค้า
การเจรจาครั้งนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ ลูกค้าไม่ยอมสั่งออร์เดอร์ตามเดิม
จึงรู้สึกหงุดหงิดมาก เมื่อเห็นแม่กำลังควานหาอะไรบนเตียงของเขา
ความหงุดหงิดบวกกับความไม่พอใจ จึงตวาดออกไปว่า
“แม่! มาทำอะไรที่ห้องผม อย่ ายุ่งของ ๆ ผมนะ ผมบอกแม่กี่ครั้งแล้ว!”
แม่ของเขาหันมา อธิบายแ ก่ลูกชายว่า
“แม่หาหนังสือพิมพ์ ก็เลยนั่งบนเตียงของแกแป๊บเดียวเอง”
ลูกชายแสดงสีหน้าไม่พอใจเป็นอย่ างยิ่ง ก่อนเดินออกจากห้อง แล้วกล่าวทิ้งท้ายว่า
“อยู่บ้านก็ไม่ทำอะไร ว่างมากหรือไง?”
เที่ยงคืนของคืนนั้น แม่ชราผู้อาภัพได้สิ้นใจ โดยที่ลูกชายยังไม่ทันได้ร่ำลาเลยสักคำ
ท่านขงจื้อกล่าวไว้ว่า “การปรับสีหน้าให้เป็นปกติ คือกตัญญู”
เหตุใดการปรับสีหน้าให้เป็นปกติ คือความกตัญญู ก็เพราะการจะทำสีหน้าให้ปกติเป็นเรื่องย าก
“กับข้าวอยู่ที่โต๊ะนะ กินไปเลยไม่ต้องรอ หนูงานยุ่ง!”
“ของพวกนี้ราคาแพงนะ เวลาใช้ก็ประหยัดหน่อยนะแม่!”
“ดึกขนาดนี้จะมานั่งรอผมทำไม ผมโตแล้วนะ วันหลังไม่ต้องนะแม่ รู้ไปถึงไหนผมก็อายไปถึงนั่น!”
เรางานยุ่งถึงขนาดนั่งกินข้าวกับพ่อแม่ได้ได้เลยหรือ?
หากของที่ซื้อมาในราคาแพงนั้น เราเอาไปให้เจ้านาย เราจะกล้าพูดแบบนี้ไหม?
ความห่วงหาอาทรที่พ่อแม่มีต่อลูก มันไม่เคยจางหายไปจากใจ ขอบคุณท่าน เมื่อเห็นท่านนั่งรอคุณกลับบ้าน
เหมือนตอนขอบคุณเพื่อน ๆ ที่นั่งรอ เวลาคุณไปงานเลี้ยงสาย คุณทำกับคนอื่นได้ แต่กับพ่อแม่ คุณทำไม่ได้เลยหรือ?
ท่านบรมครูขงจื้อจึงกล่าวไว้ว่า “ย ามท่านอยู่ เลี้ยงดูด้วยความเคารพ ย ามปรนนิบัติ ให้ความสุขสบาย
ย ามท่านป่ วย ให้การดูแลเอาใจใส่ หากวันหนึ่งท่านจากไป ให้ความอาลัยอย่ างสุดซึ้ง
ย ามบูชาเซ่นไหว้ ให้ความสำรวม”
ได้โปรดระลึกว่า..วันหนึ่งเราทุ กคนก็ต้องแ ก่ เพียงแต่พ่อแม่แ ก่ก่อนเรา
สิ่งที่เราควรมีก็คือ ความเข้าใจและปฏิบัติต่อท่าน เหมือนที่เราอย ากได้จากลูกหลานในอนาคต
เราจึงมีความเพียรในการดูแล ไม่ปรักปรำพร่ำบ่น ย ามท่านอยู่ ดูแลเอาใจใส่ท่านเพิ่มอีกสักนิด
เพราะเวลาของเรานับกันเป็นปี แต่เวลาของท่านอาจนับเป็นวันแล้วก็ได้..
ขอบคุณที่มา : postsabaidee