1. แม้แต่ในคนเดียวกัน ยังมีความสามารถที่หลากหลาย เช่น…
เป็นหมอ แต่ก็เล่นดนตรีเก่ง ทำอาหารเก่ง เป็นศิลปิน
แต่ก็คำนวณเก่งขับรถเก่ง
2. มนุษย์ทุ กคนมีความสามารถในตัวเอง “แต กต่าง” กันไป
เราไม่จำเป็นต้องเก่งเหมือนกันหมด
3. สิ่งที่เราเรียนมาเป็นสิบเป็นร้อยกว่าวิชา มันคือ “การหล่อหลอม” หลายวิชาไม่ได้
สอนเราทางตรง แต่ให้เราค่อย ๆ ซึมซับข้อดี แต่อย่ างไปเอง เช่น
ฝึกความอดทน, ฝึกความประณีต, ฝึกทักษะการเข้าสังคมในครั้งหนึ่ง
ที่เราไม่เห็นประโยชน์ว่าจะใช้อะไรได้จริง พอโตขึ้นอีกหน่อยมันก็ต้องมี
บ้างแหละ ที่เรานึกอะไรขึ้นมา จนต้องไปหาอ่ าน
ปัดฝุ่นตำราอีกครั้ง ทุ กความรู้ที่เราได้รับไม่เคยสูญเปล่า
แค่เรามองไม่เห็นค่ามันเองลองนึกดูให้ดีสิ!
4. สิ่งที่เรา “เก่ง” ไม่จำเป็น ต้องออกมาในรูปแบบวิชาชีพ เช่น…
หมอ, วิศวกร, พย าบาล มันอาจเป็นพรสวรรค์ก็ได้ เป็นความรู้อะไรก็ได้
ที่เราเอาจริงกับมันเช่น…การทำอาหาร การจัดสวน, การออกแบบ
(ไม่อย่ างงั้น เราคงไม่เห็นนักธุรกิจหน้าใหม่หลายคนผุดขึ้นเป็นด อกเห็ดหรอก)
5. มันเป็นเรื่องธรรมดา ที่มนุษย์เราจะต้องวิ่งตามหาสิ่งที่ “ใช่”
ค่อย ๆ เรียนรู้ค่อย ๆ ปรับตัวไป สิ่งที่เรากำลังสนุกในตอนนี้บางทีอาจจะยังไม่ใช่ที่สุด
สิ่งที่เราเก่งในตอนนี้ ในวันข้างหน้า
มันอาจเป็นเพียงแค่ความทรงจำ เพราะอาจมีหลายปัจจัยให้คิดมากขึ้น เช่นจำเป็น
ต้องพับโครงการเรียนต่อเอาไว้เพราะเงิ นไม่พอ จำเป็นต้องทำงานหาเงิ นก่อน
แล้วค่อยไปเรียนศิลปะที่เราชอบ… เราต้องดูจังหวะของชีวิตด้วย
(ความจำเป็นของชีวิตแต่ละช่วง)
6. ในรั้วโรงเรียน-มหาวิทย าลัย ต่อให้เราได้เรียนกับอาจารย์
ที่เก่งแค่ไหน ขอบเขตความรู้ มันก็เป็นเพียงความรู้ในรั้วเท่านั้นโลกของวัยผู้ใหญ่ที่โตขึ้น
เรายังต้องรู้เห็นอีกมาก เรียนรู้กันอีกย าว
ลองผิดลองถูกกันอีกเยอะ ดังนั้นจะมาฟั นธงว่าเรียนมาสายวิทย์ต้องทำงานสายวิทย์
เรียนสายภาษา ต้องทำงานสายภาษามันก็ไม่ถูกเสมอไป
ขอบคุณที่มา : yakrookaset