1. หนูรู้สึกยังไงบ้าง หนูคิดอะไรอยู่
ปล่อยให้เขาได้แสดงออก หรือพูดถึงความรู้สึกของเขาออกมา
อย่ าเพิ่งเข้าไปสั่งสอนอะไรเขาในเวลาแบบนี้
เพราะเวลาที่คนเรามีอ ารมณ์ติ ดค้างอยู่ ต่อให้ใครพูดอะไรไปก็ไม่ฟัง
ไม่รับเข้าหัวอยู่แล้ว ต้องรอให้อ ารมณ์เย็นลงซะก่อน
2. เกิดอะไรขึ้นหรือลูก
พ่อแม่ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี เปิดโอกาสให้ลูกได้พูดบ้าง ไม่ควรด่วนตัดสินใจด้วยตัวเอง
แม้ว่าเขาจะทำผิดจริงก็ตาม เขาอาจยินดีที่จะยอมรับความผิดของเขา
ที่สำคัญ ไม่ควรต่อว่าลูกแต่ให้ทำความเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้น จากมุมมองของลูก
เพื่อให้เราได้เข้าใจเขามากขึ้น
3. หนูตัดสินใจได้ไหมว่า เราควรทำอย่ างไรดี
เมื่อวิเคร าะห์เรื่องราวและผลที่ตามมาครบหมดแล้ว ลูกจะเลือกวิ ธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม
ที่สุดออกมาจนได้ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่สิ่งที่เราคาดเอาไว้
แต่เราต้องเคารพในการตัดสินใจของลูก เพราะถ้าเราพูดกลับไปกลับมา จะยิ่งทำให้ลูก
ไม่เชื่อใจ และไม่อย ากจะปรึกษาเราอีกเลย
4. หนูคิดว่าพ่อแม่ ต้องทำยังไงกับความผิดของหนู
เราสามารถหาทางออก และคิดแก้ปัญหาไปพร้อมกับลูกได้ อาจจะเป็นการเสนอแนะ
แนวทางให้เขาให้เขารู้สึกถึงการร่วมแก้ปัญหาไปพร้อมกับเรา
และเราก็ต้องยอมรับความคิดเห็นของลูกด้วยเช่นกัน
5. หนูอย ากให้พ่อแม่ทำอะไรดี
หากลูกเอ่ยปากให้พ่อแม่ช่วยอะไรเขาสักอย่ าง คนเป็นพ่อแม่ต้องสนับสนุน และช่วยเหลือ
ลูกอย่ างเต็มที่เพราะพลังสนับสนุนของพ่อแม่ จะส่งความเข้มแข็งไปถึงลูก
ทำให้เขามีความมั่นใจในการทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
6. ถ้าพ่อแม่ทำแบบนี้ แล้วหนูจะเป็นอย่ างไร
เราต้องอธิบายให้ลูกเข้าใจถึงสิ่งที่จะตามมา หรือผลที่จะตามมา ถ้าแก้ปัญหาด้วยวิ ธีที่ลูกพูดมา
เพื่อให้เขารู้ว่า ถ้าเขาทำแบบนี้ จะได้รับผลแบบนี้
เขาจะสามารถรับผลที่ตามมาได้ไหมการทำแบบนี้จะส่งผลให้ลูกเชื่อใจเรา
และเมื่อเขามีปัญหาอะไร เขาก็จะมาปรึกษาเรา
7. ถ้าหนูทำผิดอีก คราวหน้าพ่อแม่ต้องทำยังไง
ให้เวลาลูก ให้โอกาสเขาได้ทบทวนตัวเอง ให้เขาได้ตัดสินใจ และคิดหาวิ ธีแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
แล้วรอดูว่าเขาจะมีความสามารถ และมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาไหม
ผู้ใหญ่อย่ างเราอาจจะคิดว่า ลูกไม่มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาเองได้
เพราะอายุยังน้อย แต่จริง ๆ แล้วเมื่อถึงที่สุด
ลูก ๆ จะมีความสามารถ และวิ ธีการแก้ไขปัญหาได้เอง เหมือนกับสัญชาตญาณ
ในการเอาตัวรอดนั่นแหละ
ขอบคุณที่มา : aanplearn