1. ตำหนิผลงานที่ผิ ดพลาดต่อหน้าลูกน้องคนอื่น
การเป็นหัวหน้างานที่ดีได้นั้น ต้องคำนึงเรื่องการพูดอยู่เสมอเพราะก่อนพูด
เราเป็นนายคำพูดแต่เมื่อพูดไปแล้วคำพูดจะเป็นนายเราย่อมย าก
ที่จะหวนคืนกลับมาดังนั้น จงคิดก่อนพูดทุ กครั้งและอย่ าใช้คำพูดที่ทำให้ลูกน้อง
เสี ยหาย เสี ยหน้า เสี ยใจ และเสี ยความรู้สึกโดยเฉพาะการตำหนิผลงาน
ที่ผิ ดพลาดต่อหน้าลูกน้องคนอื่น
เป็นสิ่งที่หัวหน้างานที่ดีจะไม่ทำกัน ซึ่งหากต้องการตำหนิควรเรียกมาพบ
เป็นการส่วนตัวย่อมดีกว่ายกเว้นกรณีที่ผลงานของลูกน้องคนนั้นทำได้ดี
ก็ควรชื่นชมต่อหน้าลูกน้องคนอื่น ๆ เพื่อเป็นแบบอย่ างที่ดีต่อไป
2. ข าดการเคารพให้เกียรติลูกน้อง
เพราะการสวมบทบาทของหัวหน้างาน คือ การใส่หัวโขน ซึ่งหัวโขนที่ใส่อยู่นั้น
ก็ไม่ควรทะนงตนว่า เราคือ หัวหน้างานมีอำนาจในการสั่งงาน ชี้นิ้วกับลูกน้อง
เพราะการเอาแต่ชี้นิ้ว แต่ไม่เคยสอน ไม่เคยคุย ไม่เคยถาม ลูกน้อง
จะทำให้การทำงานตรึงเ ค รี ย ดมากกว่าทำงานด้วยความสนุกสนาน วันนี้ลองทำแบบใหม่
นั่นคือเจอหน้าลูกน้องก็เริ่มด้วยการทักทายพูดคุย ถามส า รทุ กข์สุกดิบกันบ้ าง
ก่อนเริ่มทำงานสร้างความพร้อมก่อนเริ่มงานด้วยการพูดคุยเน้นย้ำเป้าหมาย
ในสิ่งที่ทำ หากเจอปัญหาก็หันหน้ามาคุยกันแก้ไขปัญหาไปด้วยกันมากกว่าปล่อย
ปัญหาสะสมจนย ากจะแก้ไข หรือ หากเรามีลูกน้องที่อายุมากกว่าก็ลองให้เกียรติ
ลูกน้องคนนั้น
ด้วยการยกมือไหว้สวัสดี เปิดการทักทายต่อลูกน้องก่อนดีกว่าทำตัวนิ่ง ๆ หน้าบึ้ง ๆ
เพราะการครองใจผู้อื่นได้นั้นเราต้องเริ่มต้นจากการให้ใจคนอื่นก่อนจำไว้ว่า
เราเปลี่ยนแปลงคนอื่นไม่ได้ แต่เราเปลี่ยนแปลงตัวเราเองได้ครับ
3. ทำหน้าท้อกับงานต่อหน้าลูกน้อง
บางครั้งคนเราย่อมมีอาการท้อถอยกับงานได้ ซึ่งไม่ผิดหรอกครับเป็นเรื่องปกติแต่การท้อ
ต่อหน้าลูกน้อง ก็ไม่ควรทำเช่นเดียวกันเพราะหากวันนี้หัวหน้ายังไม่เชื่อในงานนั้น ๆ ที่ทำ
ลูกน้องก็ย่อมไม่เชื่อมั่นในตัวหัวหน้างานเช่นเดียวกัน
ดังนั้นการเป็นอย่ างที่ดีกับลูกน้องทั้งเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัวคือสิ่งที่หัวหน้างานที่ดี
ต้องคำนึงอยู่เสมอทั้งนี้ ทุ กครั้งที่เจอปัญหาในการทำงาน จงอย่ าเลือกคิดแก้ไขปัญหาเพียงลำพัง
แต่ควรใช้หลักคิดการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
โดยให้ลูกน้องช่วยกันเสนอความคิดเห็นในการประชุมงานอาจเป็นรายวัน หรือ รายสัปดาห์
เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกันมากกว่าที่หัวหน้างานเอาแต่เค รียดอยู่คนเดียว เชื่อผมเถอะ !!
การทำงานที่ดีนั้น ต้องช่วยกันโดยหัวหน้างานต้องสร้างคำว่า
ร่วมใจ ร่วมคิด และร่วมทำ
ร่วมใจ = การสร้างความไว้เนื้ อเชื่อใจเป็นตัวอย่ างที่ดีให้กับลูกน้อง
ร่วมคิด = ช่วยกันคิดในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
ร่วมทำ = ช่วยกันสร้างผลลัพธ์ของงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรร่วมกัน
4. สื่อส ารไม่ชัดเจนในการมอบหมายงาน
การมอบหมายงานมี 2 แบบ คือ แบบปากเปล่า และลายลักษณ์อักษรทั้งนี้
การมอบหมายงานโดยเฉพาะ วาจา ทุ กครั้งเวลามอบหมายงานต้องพูดให้ชัดเจน
และเฉพาะเจาะจงมากกว่า พูดห้วน ๆ สั้น ๆ เช่น
พรุ่งนี้นำงานมาส่งพี่ตอนเช้าบนโต๊ะทำงานนะจะสังเกตว่า ตัวอย่ างที่ให้ไม่ค่อยชัดเจน
เท่าไหร่ เพราะคำว่า “เช้า”ตีความหมายได้หลายเวลา ซึ่งหากเราไม่ได้ทวน
คำพูดนั้นกลับจากลูกน้อง
ย่อมอาจเกิดการคลาดเคลื่อนในเรื่องเวลาไม่มากก็น้อยนะครับกลับกัน
หากเราพูดว่า พรุ่งนี้นำงานมาส่งพี่ตอนเช้า เวลา 9.00 น.บนโต๊ะทำงานนะ
และก่อนให้ลูกน้องไปทำงาน ก็ทวนคำสั่งนั้นอีกครั้งจากกลูกน้อง
เพื่อให้การสื่อส า รตรงกันทั้งผู้ส่งส า ร คือ หัวหน้า และผู้รับส า ร คือ ลูกน้อง
ย่อมมีโอกาสทำให้งานเดินไปได้อย่ างราบรื่นไม่สะดุดหัวทิ่มจนงานหลุด
เกิดความผิ ดพลาดครับ
ทั้งนี้ หากลูกน้องนำงานมาส่งก่อนเวลา ก็ควรชมบ้ างเพื่อเป็นกำลังใจ
แต่หากยังไม่ถึงเวลานัดหมาย ก็ไม่ควรไปเร่งจี้เอางานนั้นนะครับ
ยกเว้นอาจเดินไปไถ่ถาม ด้วยคำพูดเชิงการให้คำปรึกษา
เช่น งานเป็นอย่ างไรบ้ าง ติ ดขัดตรงไหนให้พี่ช่วยไหมเพื่อทำให้ลูกน้อง
เกิดขวัญกำลังใจที่ดีในการเป็นห่วงจากหัวหน้างาน ลองดูนะครับ
5. ปิดกั้นความคิดเห็นของลูกน้อง
การทำงานส่วนที่สำคัญมาก ๆ คือ ทักษะการฟัง ฟังให้เข้าใจ และแยกแยะข้อมูล
เพื่อนำมาพิจารณาตัดสินใจ มากกว่าฟังเสี ยงตัวเองเพียงข้างเดียวเพราะ
การทำงานคนที่รู้ดีที่สุด
คือ คนที่อยู่หน้างาน หากเรากล้าเปิดใจถามลูกน้องและฟังเสี ยงลูกน้อง
ด้วยความเป็นธรรม จริงใจ เราจะได้ข้อมูลที่หลากหลาย ทั้งนี้ ลูกน้องคง
ไม่มีอำนาจตัดสินใจแทนหัวหน้างาน แต่การได้ข้อมูลที่มาก ๆ
ย่อมดีกว่าที่ไม่มีข้อมูลใด ๆ เลยจริงไหมครับ !! อีกอย่ าง หากเราปิดกั้นความคิด
ของลูกน้องมากเท่าไหร่ ถึงเวลาเมื่อเราเปิดใจฟังลูกน้องมากขึ้น
ก็อาจสายเกินแก้ เพราะลูกน้องอาจไม่กล้าพูด หรือไม่อยู่พูดแล้วก็ได้ครับ
ขอบคุณที่มา : jingjai999