1. “ก็ไม่รู้สินะ” ประโยคสั้น ๆ แต่สื่อความหมายในเชิงลบ อาจทำให้
คนฟังเข้าใจได้ว่าคนพูดไม่สนใจ ไม่แคร์ และไม่ใส่ใจ ทำให้ข า
ดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล หรือระหว่างลูกน้องกับหัวหน้างาน
2. “ไม่เข้าใจ คุณคิดได้ยังไง” เป็นคำพูดที่หัวหน้าควรหลีกเลี่ยง
แม้จะฟังดูคล้าย ๆ ไม่มีอะไร แต่ก็แฝงความดูหมิ่นดูแคลนความ
สามารถของคนฟังไว้ในคำพูดนั้นด้วย
3. “ทำไม่ได้ ก็ลาออก” เป็นคำพูดเชิงลบที่หัวหน้างานหรือผู้บริหารควรหลีกเลี่ยง
และเลือกใช้คำอื่นแทน เช่น “พย าย ามทำให้เต็มที่ก่อน” หรือ
“เชื่อว่าไม่เกินความสามารถของคุณ”
4. “ถ้ามอบหมายให้คุณทำ ผมทำเองดีกว่า” เป็นคำพูดของหัวหน้างานที่
ไม่ควรพูดกับลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา เพราะบ่งบอกถึงความไม่ไว้วางใจ
ไม่เชื่อมั่นในความสามารถ และอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ลูกน้องรู้สึก
ไม่เป็นมิตรด้วย
5. “งานง่าย ๆ ก็ยังผิ ดพลาด” การทำงานย่อมเกิดความผิ ดพลาดได้
ควรหลีกเลี่ยงคำพูดนี้และเลือกใช้คำพูดที่เป็นการถนอมน้ำใจ
หรือเลือกที่จะพูดตรง ๆ ไปเลยว่า งานเกิดความผิ ดพลาดเพราะเหตุใด
6. “งานนี้ไม่เหมาะกับคุณ” เป็นคำพูดเชิงลบที่แม้จะเป็นความจริง
ผู้บริหารหรือหัวหน้างานก็ควรหลีกเลี่ยง และเลือกใช้คำพูดอย่ างสร้างสรรค์
เมื่อต้องปฏิเสธการมอบหมายงานให้ลูกน้องคนใดคนหนึ่งไปให้คนที่เหมาะสมกว่า
เช่น “ผมยังมีงานอื่นที่สำคัญและอย ากให้คุณช่วย”
7. “เรื่องนี้ไม่ใช่หน้าที่ของผม” ประโยคนี้ เป็นคำพูดต้องห้ามสำหรับคนเป็นหัวหน้า
แม้ฟังดูไม่ใช่คำพูดในเชิงลบ แต่ก็บ่งบอกได้ว่า คุณเป็นหัวหน้างานที่ไม่มีน้ำใจ
ข าดการมีสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้ร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา
8. “เรื่องของคุณ” เป็นประโยคที่ไม่ควรนำมาใช้กับลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงาน
เพราะเป็นการสื่อส ารที่ข าดบรรย ากาศของความเป็นมิตร
9. “ไม่น่าเชื่อว่าคุณก็ทำได้” คำพูดนี้เป็นประโยคที่แสดงออกถึงความไม่เชื่อมั่น
หรือไม่เชื่อใจในความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา
และจะยิ่ง เ ล ว ร้ า ย หากพูดต่อหน้าบุคคลที่ 3 เพราะอาจเป็นการดูหมิ่นดูแคลน
และไม่ให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชา โดยที่คนพูดก็ไม่ได้ตั้งใจ
10. “บอกไม่เคยเชื่อ” หรือ “เตื อนไม่เคยฟัง” เป็นคำตำหนิที่ไม่ควรใช้กับลูกน้อง
หรือผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ควรเลือกใช้คำพูดในเชิงบวก
เช่น “ถ้าเราระมัดระวั งให้มากกว่านี้ก็คงจะดี” หรือ
“ครั้งนี้ถือเป็นบทเรียน ครั้งต่อไปต้องระมัดระวั งให้มากขึ้น”
ขอบคุณที่มา : jingjai999